วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กฎหมายและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

            อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page21.htm วันที่ 17 ต.ค.55

              อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/90636 วันที่ 17 ต.ค.55

                อินเทอร์เน็ต( Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV 4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
ที่มา http://guru.sanook.com/search/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95_%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3  วันที่ 17 ต.ค.55

             อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายถึง เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย (http://www.thaiall.com)

              อินเทอร์เน็ต หมายถึง  ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการสื่อสารข้อมูล เช่น การบันทึกเข้าระยะไกลการถ่ายโอนแฟ้ม อี-เมล์ และกลุ่มอภิปราย อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่าย งานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อการเข้าถึงของแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่(กิดานันท์ มลิทอง. 2540 : 321)
             อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือ หน่วยงานต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับCompuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกศ์ (E-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้แต่จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่งจึงจะได้ผล (ทักษิณา สวนานนท์. 2539 : 157)

             อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายต่างๆจำนวนมาก ที่เชื่อมโยงระบบสื่อสารแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เครือข่ายที่เป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายซึ่งกระจายอยู่ในประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกได้อีกว่า The Net, Cyberspace (วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์. 2539 : 60)

             อินเทอร์เน็ตหมายถึง ระบบเครือข่าย (Network) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลาย เครือข่ายเข้าด้วยกันอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุกๆด้าน ให้ผู้ที่สนใจเข้าไปค้นคว้าหามาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย (สิทธิชัย ประสานวงศ์. 2540 : 3)

              อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า Internet Protocol (IP) ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถเรียกอินเทอร์เน็ตได้ว่าเป็นเครือข่ายของเครือข่ายต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง และมีข้อมูลมากมายมหาศาลอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ประภาพร ช่างไม้.2544:2)



             จากความหมายที่ได้รวบรวมมาข้างต้นนี้จึงสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกโดยใช้มาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol /Internet Protocol)


ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

            ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
             การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่

        - มหาวิทยาลัยยูทาห์
        - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
        - มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
        - สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

         และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
          พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยก็ว่าได้

        จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
       พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)

       ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง

         ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้   

ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/281468 17 ต.ค.55 

 

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

                ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย

- โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
- เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
- สายโทรศัพท์ทองแดง

           โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baudและมีเสียงดังมาก (Baud ภาษาไทย: บอด เป็นการวัดที่เด่นของความเร็วการส่งผ่านข้อมูลจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยหน่วย การวัดแม่นยำกว่า bps (bits per second) หรือบิตต่อวินาที ใน 1 baud คือ การเปลี่ยนสถานะอิเลคตรอนต่อ 1 วินาที เนื่องจากการเปลี่ยน 1 สถานะสามารถเกี่ยวข้องมากกว่า 1 บิตข้อมูล การวัดด้วยหน่วย bps ได้แทนที่ในฐานะนิพจน์ที่ดีกว่าของความเร็วการส่งผ่านข้อมูล การวัดนี้เป็นชื่อของวิศวกรฝรั่งเศส Jean-Maurice-Emile Baudot โดยใช้ครั้งแรกในการวัดความเร็วของการส่งผ่านโทรเลข)    

            จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป
นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย
             หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)
ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25    นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไปสามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
           ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่าย
ไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างประเทศ"

          หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 ร่วมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535
           ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF)  และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537  AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร

           ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบัน

ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/281468 17 ต.ค.55

ทิศทางของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

           การพัฒนาเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงในปัจจุบันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2551 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 16.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 13.4 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากมุมมองของการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศกลับพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อประชากรอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น สาเหตุสำคัญที่สัดส่วนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยยังค่อนข้างน้อย เพราะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง
 
             ทิศทางและแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้น ความต้องการส่วนใหญ่ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังคงมุ่งไปที่การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของผู้สมัครใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ทั้งแบบใช้สายและไร้สาย มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะที่แนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบธรรมดาในระบบความถี่แคบ (Narrowband) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up) มีปริมาณการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้บริการผ่านการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) ซึ่งก็คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงบนข่ายสายทองแดงหรือคู่สายโทรศัพท์ โดยปัจจุบันครองส่วนแบ่งการตลาดสูงกว่าร้อยละ 80 ของตลาดการให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหมด นอกจากนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมอย่างเห็นได้ชัด และมีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง คือการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Internet) ซึ่งได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G เพื่อให้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถรองรับการให้บริการภาพและเสียง และการรับส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี  WAP, GPRS, EDGE และ Bluetooth เป็นต้น

           นอกจากนั้นแล้วยังมีการพัฒนาจนกระทั่งสามารถใช้เครื่องโทรศัพท์ 3G แทนการใช้โมเดมเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานในต่างจังหวัดจำนวนมากยังคงใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำหรืออินเทอร์เน็ตแบบธรรมดาอยู่ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเทคนิคและอัตราการคุ้มทุนของผู้ให้บริการในต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อจำกัดทางด้านการขยายโครงข่ายและเทคโนโลยีไปสู่พื้นที่ต่างจังหวัดซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลในการวางโครงข่าย

           สำหรับทิศทางการเติบโตของปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ

            1. ปัจจัยทางด้านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การขยายความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลหรือปริมาณการขยายแบนด์วิธ (Bandwidth) ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง โดยในเดือนมิถุนายน 2552 ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศอยู่ที่ 62 Gbps และการใช้ภายในประเทศอยู่ที่ 251 Gbps ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 28 สำหรับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ และร้อยละ 100 สำหรับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตภายในประเทศทั้งนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในประเทศไทยปี 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 106 ราย แบ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่ 1 จำนวน 91 ราย แบบที่ 2 จำนวน 13 ราย และแบบที่ 3 จำนวน 2 ราย  ดังจะเห็นได้ว่ามีเพียงผู้ให้บริการบางรายเท่านั้นที่เป็นผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกตเวย์ (IIG) แม้ว่าปัจจุบันคณะกรรมการกำกับกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะอนุญาตให้มีการเปิดเสรี IIG แล้วก็ตาม แต่จำนวนผู้ให้บริการก็ยังคงมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการแบบที่ 1 สำหรับกลุ่มของ ISP  ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งผู้ให้บริการรายใหญ่และรายย่อย

             2. ปัจจัยทางด้านผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ได้แก่ จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Subscribers) ซึ่งปี 2551 มีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แล้วกว่า 9 แสนราย นอกจากนั้นจากรายงานสภาพตลาดโทรคมนาคมไตรมาส 4 ปี 2551 ของ กทช. ระบุว่า อัตราส่วนประชากรต่อจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอยู่ที่ร้อยละ 1.6 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.3 ในปี 2556 จากอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำนี้เองทำให้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ยังคงมีโอกาสในการขยายอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกมากและกลายเป็นตลาดที่มีศักยภาพในที่สุด

             สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยผลักดันให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี 3G ซึ่งเริ่มมีการให้บริการเชิงพาณิชย์ในหลายๆ พื้นที่ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาและขยายโครงข่ายเพิ่มเติมเพื่อรองรับความต้องการใช้งานในจังหวัดใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ พัทยา และภูเก็ต เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี 3G แล้วจะไม่พูดถึงเทคโนโลยี WiMAX (Worldwide Interoperability for Microwave Access) คงจะไม่ได้ เนื่องจากเทคโนโลยี 3G เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ขณะที่ WiMAX เป็นเทคโนโลยีสำหรับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และโน้ตบุคทั่วๆ ไป และเป็นเทคโนโลยีหลักที่เกิดมาเพื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่นอกเขตเมืองนั่นเอง        จึงคาดว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในต่างจังหวัดได้เป็นอย่างดี อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เป็นที่น่าจับตามองไม่น้อย คือ Power Line Broadband ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่งผ่านสายไฟฟ้า แต่ก็มีศักยภาพการให้บริการสูงในอนาคต เนื่องจากมีความสะดวกและเข้าถึงผู้ใช้บริการได้มากที่สุด ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป คืออัตราค่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่มีราคาถูกลงและจะยังคงมีแนวโน้มลดลงอีกเมื่อเทียบกับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น

                  เนื่องจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทำให้ผู้ให้บริการรายใหญ่ใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดและขยายฐานลูกค้าที่มีอยู่ อีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนส่งเสริมให้เกิดความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง คือธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นการขายของออนไลน์ เกมส์ออนไลน์ การให้บริการดาวน์โหลดคอนเทนต์ออนไลน์โดยเฉพาะเพลงและภาพยนตร์  อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งและอีเพย์เมนต์ รวมถึงการประชุมทางไกลผ่าน Video Conference และการให้บริการ VoIP เป็นต้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งเสริมกันและกันเป็นวงจรของการพัฒนาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในประเทศ โดยยิ่งเทคโนโลยีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะส่งผลให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องที่ให้บริการโดยอาศัยอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มีจำนวนผู้ให้บริการและประเภทบริการใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และธุรกิจเหล่านี้เองที่เป็นตัวกระตุ้นความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เมื่อมีความต้องการใช้งานในปริมาณที่สูงก็ย่อมทำให้ผู้ให้บริการโครงข่ายมีความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้บริการมากขึ้นด้วย จนกระทั่งกลายเป็นวงจรของการพัฒนาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในที่สุด

                  ทางด้านของพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งของประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ยังคงนิยมการใช้งานเว็บไซต์ Social Networking  ประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยบริการที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ได้แก่ Blogs, Social Web เช่น facebook , Hi5, Twitterr, Myspace รวมถึงการติดตามข่าวสารออนไลน์ ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นิยมใช้บริการวิดีโอออนไลน์ ทั้งแบบดาวน์โหลดและแบบรับชมสด (Streaming Video) ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเกาหลีใต้ปัจจุบัน คือ UCC Site ซึ่งตามรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศเกาหลีใต้ปี 2008 จัดให้เป็นไฮไลต์ของปีที่สั่นสะเทือนวงการโทรทัศน์และวงการโฆษณาออนไลน์ของเกาหลีได้ไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม บริการดังกล่าวยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรในประเทศไทย  แต่หากในอนาคตอันใกล้มีการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีประสิทธิภาพในเรื่องของความเร็วและความเสถียรของการรับ-ส่งข้อมูล คาดได้ว่าบริการในรูปแบบเดียวกันนี้จะได้รับความนิยมด้วยเช่นเดียวกัน

ที่มา :http://www.marketingoops.com/reports/internet-trend/

1 พ.ย.2555


อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

                   อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมาย โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ รวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐ(ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ) จึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควรผู้ใหบริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP ซึ่งแต่ละรายจะเก็บค่าบริการไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อและเงื่อนไขบริการเช่น เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีอะไร (ADSL ,ISDN หรือโมเด็มธรรมดา) ความเร็วสูงแค่ไหน ต่อตลอดเวลา หรือเป็นครั้งคราว จำกัดเวลาใช้งานเดือนละกี่ชั่วโมง หรือไม่จำกัด เป็นผู้เรียกดูเรียกใช้บริการอย่างเดียว หรือเป็นผู้ให้บริการแก่คนอื่นๆฯลฯ หรือบางรายก็ให้บริการฟรีแก่ลูกค้า เช่นสถาบันการศึกษา และบริษัททีโอที จำกัดมหาชนเป็นต้น
                    ISP หรือ Insternet Service Provider เป็นหน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทำหน้าที่เสมือนประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับในประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านนี้อยู่ 2 ประเภทคือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (commercial ISP) และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัย และหน่วยงานของรัฐ(Non-commercial ISP)
วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
              ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทาง ISP นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะต้องมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภทด้วยดังนี้
ต่อผ่านระบบโทรศัพท์โดยตรง
เป็นการต่อเครื่องที่คุณใช้อยู่นั้นเข้ากับ ISP ผ่านโทรศัพท์โดยตรง ซึ่งยังแบ่งได้อีกหลายวิธีคือ
ต่อผ่านโทรศัพท์
1. ต่อผ่านสายโทรศัพท์ ต้องมีโมเด็ม( Modem )ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์มาต่อเข้าไปอีกทีหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโทรศัพท์ธรรมดา ( Dial-up )หรือใช้โมเด็มแบบ ADSL ก็ได้ ( Broadband ) กำลังได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้เทคโนโลยีใหม่ อุปกรณ์ที่จำเป็นคือโมเด็ม ADSL และคู่สายโทรศัพท์ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูง
          การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา (Dial-up) มีข้อดีข้อเสียดังนี้
ข้อดี
        1. ค่าใช้จ่ายต่ำ เนื่องจากปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว ทำให้อุปกรณ์ที่จำเป็นเช่นโมเด็ม 56 k และค่าบริการมีราคาถูกลง
        2. การใช้งานไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ติดตั้งโมเด็มและมีบัญชีในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่เราได้รับมาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทันที
ข้อเสีย
        1. ความเร็วในการเชื่อมต่อช้า เพราะเป็นเทคโนโลยีรุ่นแรกๆ ทำให้ไม่ค่อยเหมาะกับการใช้งานปัจจุบันซึ่งเนื้อหาที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีขนาดใหญ่มากขึ้น
        2. ไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับอินเทอร์เน็ตได้
        3. ในตอนที่จะเชื่อมต่อ ต้องให้คู่สายปลายทางว่างก่อนถึงจะเชื่อมต่อได้
        4. ผู้ให้บริการมีน้อย เนื่องจากไม่ค่อยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคแล้ว
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์แบบ ADSL ( Broadband ) มีข้อดีข้อเสียดังนี้
ข้อดี
        1. ความเร็วในการเชื่อมต่อสูง ทำให้สามารถท่องเว็บไซต์ ดาวน์โหลด หรืออัพโหลดข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
        2. สามารถเชื่อมต่อได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรอให้คู่สายปลายทางว่างก่อนจึงจะเชื่อมต่อสำเร็จ
        3. สามารถใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับอินเทอร์เน็ตได้
        4. มีผู้ให้บริการหลายราย ทำให้ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น พร้อมกับค่าบริการที่ต่ำลง
ข้อเสีย
         1. ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา (Dial-up) ตั้งแต่โมเด็มและค่าเดินสายโทรศัพท์ใหม่ที่สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบนี้ อีกทั้งการใช้บริการจากผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการสมัครสมาชิกทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายประจำเกิดขึ้น
         2. ความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะช้าลง ถ้ามีผู้ใช้บริการพร้อมกันในช่วงเวลานั้นมาก อีกทั้งถ้าบ้านใครมีคู่สายอยู่ไกลชุมสาย ก็จะทำให้ได้ความเร็วที่ช้ากว่าบ้านของคนที่อยู่ใกล้ชุมสาย 
2. ต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มไร้สาย
             อินเทอร์เน็ตไร้สายคือ  การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่ต้องอาศัยสายพ่วงใด ๆ ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อ คือ Rounter Modem  การ์ด Wireless LAN และคู่สายโทรศัพท์ที่สนับสนุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบความเร็วสูง อุปกรณ์ทั้ง 3 อย่างนี้ใช้สำหรับเชื่อมต่อแบบไร้สาย ยกเว้นการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi ที่ต้องการเพียงแค่การ์ด Wireless LAN เมื่อมีอุปกรณ์แล้วเราก็สามรถสมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายได้ทันที
มีข้อดีข้อเสียดังนี้
ข้อดี
    1. ไม่ต้องอาศัยสายพ่วงต่าง ๆ ทำให้มีพื้นที่ใช้งานมากขึ้นและไม่เกะกะ และไม่ต้องกังวลกับปัญหาคู่สายมีปัญหา
    2. ถ้าเป็น Wi-Fi จะทำให้เราใช้อินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณไปถึง
ข้อเสีย
     1. ค่าใช้จ่ายสูงเพราะโมเด็มไร้สาย และค่าสมัครใช้บริการจะมีราคาสูงกว่าแบบอื่น
     2. ความเร็วในการเชื่อมต่อจะมีน้อยกว่าแบบที่มีสายพ่วงเล็กน้อย
     3. ความราบรื่นในการใช้งานจะมีน้อยกว่าแบบมีสายพ่วง เนื่องจากมีโอกาสถูกรบกวนสัญญาณได้ง่ายกว่า และเมื่อถูกรบกวนมากจะทำให้ความเร็วในการใช้งานลดลงและมีอาการสัญญาณขาดหายบ่อยได้
     4. ขั้นตอนการตั้งค่าตัวเชื่อมต่อจะยุ่งยากกว่าแบบอื่น เนื่องจากต้องป้องกันไม่ให้ผู้อื่นแอบเข้าใช้ 
ต่อผ่านเครื่องอื่นด้วยระบบ LAN
              วิธีนี้จะต่อผ่าน LAN เข้ากับเครื่องอื่น (ซึ่งเครื่องนั้นจะต้องเชื่อต่อเข้ากับ ISP อีกทีหนึ่ง) และเรียกใช้ให้เครื่องนั้นทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการรับส่งข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตต่อไป วิธีนี้คือแบบที่พบได้ในหน่วยงานใหญ่ สถาบันการศึกษา ร้านอินเทอร์เน็ตทั่วไป ตลอดจนในบ้านที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องต่อ LAN แล้วมีเครื่องที่ต่ออินเทอร์เน็ตจริงเพียงเครื่องเดียว ซึ่ง LAN จะเป็นแบบใช้สาย หรือไร้สายก็ได้( WI-FI หรือ Wireless )ก็ได้
เชื่อมlan


ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          หลังจากเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้ว เครื่องของผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลกับเครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่พร้อมกัน จะทำอะไรได้บ้างขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ติดตั้งไว้ ซึ่งมากมายหลายชนิดแต่บริการยอดนิยมไที่ใช้กันเช่น เว็บเพจ อีเมล์ และ Instant Messaging(IM) เป็นต้น

  • ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บเพจ  เป็นบริการที่ถือว่าเป็นหัวใจของการใช้งาน
     อินเทอร์เน็ตก็คือ WWW(World Wide Web)โดยมีการเก็บข้อมูลจำนวนมากไว้ในรูปของเว็บเพจอินเทอร์เน็ตที่เราสามารถเข้าถึงโดยใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ซึ่งแบ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งานWWW ได้เช่น ค้นหาข้อมูล อัพเดดข่าวสารล่าสุด จับจ่ายสินค้า/บริการ โหลดโปรแกรม/เกมส์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งเป็นแหล่งความบันเทิงต่าง ๆ
  • อีเมล์-จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  • ดูหนัง ฟังเพลงบนอินเทอร์เน็ต
  • พูดคุยสนทนาผ่าน Windows Live Messenger
  • สังคมออนไลน์ Facebook ,Twitter
  • ดูแกลอรี่รูป และพุดคุยสังคมออนไลน์ผ่าน Multiply
  • สร้าง Blog นำเสนอเรื่องราวของตนเอง
  • ซื้อขายของบนอินเทอร์เน็ต
  • จองตั๋ว จองโรงแรมผ่านอินเทอร์เน็ต
  • ดาวน์โหลดข้อมูล
  • ประชุมออนไลน์ทางโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต
  • ดูแผนที่ผ่าน Google Earth
  • เรียนออนไลน์(E-learning)

บริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต

             บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้

      1.บริการด้านการสื่อสาร
        1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)

        ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com

        โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)

        1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)        mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)

        1.3 กระดานข่าว (usenet)        ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น

        การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ

        เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น

        1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)        การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

        การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

        การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

        1.5 เทลเน็ต (telnet)        เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป


        2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
        2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)        การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)

        ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี

        ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม

        2.2 โกเฟอร์ (gopher)        เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้

        2.3 อาร์ซี (archie)         อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป

        2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)        WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย

        2.5 veronica        veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

        2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์        อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom
ที่มา :pirun.ku.ac.th/~b5011172/Page_5.html
...............................................................................................
บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

    5.3.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail) เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย

เกร็ดน่ารู้

การใช้อีเมลให้มีประสิทธิภาพ

ข้อเด่นประการหนึ่งของการใช้งานอีเมลคือ ผู้ส่งสามารถส่งข้อความไปยังผู้รับ พร้อมกับทำสำเนาข้อความไปให้กับบุคคลอื่นด้วย ในการทำสำเนาข้อความผู้ส่งควรคำนึงถึงสถานการณ์การใช้งานและเลือกใช้ให้ถูกต้อง

    - การใช้ cc (carbon copy: cc) ใช้ในกรณีที่ต้องการส่งสำเนาอีเมลถึงคนรับคนอื่น โดยผู้รับจะเห็นว่าสำเนาถึงใครบ้าง

    - การใช้ bcc (blind carbon copy: bcc) ใช้ในกรณีที่ต้องการส่งสำเนาอีเมลถึงผู้รับคนอื่น โดยไม่ต้องการให้ทราบว่าสำเนาถึงใครบ้าง

มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล

    1.ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล

    2 เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน

    3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง

    4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน bcc

    5.อย่าใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน

    6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน

    7.ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง

    8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก

    9.ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น

    10.ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้

    5.3.2 การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication)

เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และ วอยซ์โอเวอร์ไอพี

แชท (Chat)

เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คนหรือระหว่างกลุ่มบุคคลโดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์เช่น Windows Live และ Yahoo messenger

ห้องคุย (Chat room)

เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อการสนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่งประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือการใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสารตัวอย่างห้องคุย เช่น CHATABLANCA

เกร็ดน่ารู้

การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่าย

เช่น การแชท การส่งอีเมล และการส่งเอสเอ็มเอส ผู้รับและผู้ส่งสามารถแสดงอารมณ์ในการสื่อสารด้วยสัญลักษณ์ที่เรียกว่า สัญรูปอารมณ์ emotion เช่น ใช้เครื่องหมาย : - ) แทนการยิ้ม หรือใช้ : - ( แสดงอารมณ์เบื่อ หรือ ไม่ถูกใจ โดยในปัจจุบันสัญรูปต่างๆ มีการพัฒนาเป็นภาพ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ มากมายให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้ตามต้องการ เพื่อแสดงอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ

วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือ วีโอไอพี (Voice over IP : VoIP)

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (Internet telephony) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์โอเวอร์ไอพีในอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือพื้นที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทาง

เกร็ดน่ารู้

ข้อควรระวังในระหว่างการสนทนากับคนแปลกหน้าที่พบกันบนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของบุคคล มีดังนี้

    1.ไม่ควรให้รายละเอียดส่วนตัว เช่น ที่อยู่ หายเลขโทรศัพท์ และ รูปภาพ ที่อาจนำมาสู่การคุกคามที่ไม่พึ่งประสงค์

    2.ไม่ควรหลงเชื่อในคำพูด โดยขาดการไตร่ตรองถึงเหตุผลที่เหมาะสม

    3.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน หรือคนรู้จักโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ

    4.ไม่ควรไปพบคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อนแบบต่อหน้า ไม่ว่าสถานการณ์ใดทั้งสิ้นถ้ามีความจำเป็นให้ปรึกษาครู หรือผู้ปกครองก่อนเสมอ

    5.ไม่ควรรับแฟ้มข้อมูลที่ส่งมา โดยไม่มีการยืนยันจากผู้ส่ง เพราะอาจเป็นแฟ้มที่ส่งโดยไวรัสคอมพิวเตอร์

    5.3.3 เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) 

    เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่น facebook, myspace, Linkedin, hi5 และ GotoKnow

    5.3.4 บล็อก (blog) 

    เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlog และ BLOGGANG

    5.3.5 ไมโครบล็อก (microblog)

    เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือเลือกตามสมาชิกอื่นได้ ตัวอย่างไมโครบล็อก เช่น twitter , yammer , Jaiku และ tumblr

    5.3.6 วิกิ (wiki ) 
    
    เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKS

    5.3.7 อาร์เอสเอส (Really Simple Syndication: RSS ) 

    เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการ (subscribe) ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สนใจต่างๆโดยตรง เพื่ออ่านข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละวันด้วยตนเองทีละเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจมีความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลแตกต่างกันไป ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่มีการให้บริการเผยแพร่แบบอัตโนมัตินี้ โดยคลิกปุ่มสัญลักษณ์ หรือ RSS หรือ XML ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ แล้วคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ดังกล่าว เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูลที่ขอรับบริการไว้เป็นสัดส่วนที่สะดวกการเข้าถึง โดยมีอาร์เอสเอสรีดเดอร์ (RSS reader) หรือ ฟีดรีดเดอร์ (Feed reader) หรือคอนเทนท์ แอกกรีเกเตอร์(content aggregator) ทำหน้าที่คอยติดตามการปรับปรุงของข้อมูลที่ได้รับบริการไว้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมไปยังข้อมูลที่เผยแพร่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยได้โดยตรง ช่วยประหยัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่สนใจที่มีอยู่มากมายได้อย่างครบถ้วน

    5.3.8 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) 

    เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต
ที่มา :https://sites.google.com/site/kruyutsbw/5-3-brikar-bn-xinthexrnet
 
คำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
WebPage
หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser

Web site
หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)

HomePage
หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ

Web Browser
โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer

Domain Name
หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่ www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th

URL(Uniform Resouire Locator) 
หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล

IP (Internet Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP

TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol) เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้

Protocol เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น

ISP (Internet Service Provider)  
คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ASP (Application Service Provider)
คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง

IDC (Internet Data Center)
คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ

E-Commerce (Elertronic Commerce)
คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

Hypertext
คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

Download
คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload

Upload เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป

POP (Post Office Protocal) ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง

Internet Address
คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า datatan.net

IP Address
คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com

Mailing List
คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing List โดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน
ที่มา : http://forum.datatan.net/index.php/topic,414.0.html

.......................................................................................

คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี

Active X
พัฒนาโดยบริษัท Microsoft เป็น OLE (Object Linking and Enbedding) ที่จะช่วยให้คุณใช้งานไฟล์รูปแบบ Word Excel Access กับอินเตอร์เน็ตได้ โดยแบ่ง 2 ส่วนคือ ส่วนของซอฟต์แวร์ (ActiveX Control) เป็น OLE ที่มีการทำงานตามข้อกำหนดของ ActiveX และส่วนแอพพลิเคชั่น (ActiveX container) โดยการนำเอา ActiveX control มาประยุกต์ใช้งานนั่นเอง ซึ่งจะเป็นรูปแบบ VBScript หรือ JavaScript ก็ได้
ASP
ASP (Active WebServer Page) เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีส่วนขยายเป็น .asp ปกติมักจะนำมาใช้กับเว็บ เซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ WindowsNT โดยอาศัยการควบคุมด้วยโปรแกรมอินเตอร์เน็ต Information เว็บเซิร์ฟเวอร์ (IIS) ของไมโครซอฟท์ ลักษณะของไฟล์ *.asp จะประกอบด้วยโค้ดที่แทรกไว้ระหว่างโค้ดภาษา HTML การทำงาน ASP นั้นจะใช้การ เรียกใช้จากฝั่งผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วยบราวเซอร์โดยจะมีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะแสดงผลที่บราวเซอร์ ช่วยลด ความอืดอาดในการใช้งานอินเตอร์เน็ตลงได้มาก

Browser
บราวเซอร์ (Browser Web Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยาย เป็น *.htm *.html *.asp *.php *.pl ส่วนรูปภาพจะเป็นรูปแบบ *.jpg *.gif *.png เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ ระหว่างผู้ใช้งานอินเตอรืเน็ตกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่น ๆ หรือระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำให้ สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อความหรือรูปภาพได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกและยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้อีก มากมาย เช่น บริการ E-mail รับส่งข้อมูลผ่านบราวเซอร์ได้ ในปัจจุบันยังสามารถที่จะฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ตัวอย่าง ฟังวิทยุ หรือแม้แต่การชมการถ่ายทอดสดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยบราวเซอร์และโปรแกรมเสริม(Plug-in)ต่าง ๆ ได้อีกด้วย มีโปรแกรมบราวเซอร์หลายโปรแกรม เช่น Internet Exporer (IE) , Netscape , Opera

CGI
CGI (Common Gateway interface) เป็นการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโดยเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้จัดเตรียมโปรแกรม CGI ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะส่งไปยังผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในขณะ ที่ยังสามารถรับข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เช่น การใช้งานห้องสนทนาที่จะรับข้อความมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และส่งข้อความของเขาและคนอื่น ๆ มาแสดงที่บราวเซอร์ได้ด้วย
เบื้องหลังของ CGI จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาสคริปต์หลายอย่าง เช่น โปรแกรม Perl ASP PHP เป็นต้นซึ่งจะมีส่วนประกอบ พื้นฐาน ดังนี้
GET -- ข้อมูลจะถูกส่งไปกับ query string ของ URL จะส่งข้อมูลใน query_string ไปยัง HTTP เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงาน อยู่ในเครื่อง
POST -- ข้อมูลจะถูกส่งไปในลักษณะของ message body ติดไปกับ request message ที่ถูกส่งโดย client ไปยังเว็บ เซิร์ฟเวอร์ วิธีการนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า GET แต่สามารถใช้กับข้อมูลที่ซับซ้อนกว่าได้ดีกว่า
ความแตกต่างระหว่าง GET และ POST โดยทั่วไป GET ใช้สำหรับเรียกไฟล์ หรือทรัพยากรอื่น ๆ จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย สามารถมี parameter ระบุไว้ตามที่ต้องการได้ ในกรณีของการรับข้อมูล จาก form URL ของการ GET จะเป็น GET คือวิธีการที่บราวเซอร์ใช้ในการดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูล เช่น เอกสาร HTML หรือรูปภาพและยังสามารถใช้ในการส่งข้อมูลจาก form ได้ด้วย ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นไม่มากจนเกินไป (ข้อจำกัดของขนาดข้อมูลขึ้นอยู่กับบราวเซอร์) ผลกระทบของการใช้วิธีการ GET คือบราวเซอร์และ proxy จะสามารถจดจำผลลัพธ์ของการ GET ไว้ใน cache ได้
เพราะฉะนั้นในการเรียกใช้โปรแกรมด้วยวิธี GET หลายอาจจะได้ผลลัพธ์เก่าออกมาก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้วิธี GET ถ้าหากว่าต้องการที่จะเก็บข้อมูลสำหรับการเรียกใช้โปรแกรมแต่ละครั้ง เฉพาะเป็นครั้ง ๆ ไป หรือกับโปรแกรม CGI ที่ต้องการ ที่จะนำเสนอข้อมูลที่ใหม่ (update) เสมอทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โดยปกติแล้ว POST ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อประมวลผล เมื่อ HTML form ส่งออกไปยังเว็บเซิร์ฟเวอรืด้วยวิธีการ POST ข้อมูลของคุณจะแนบไปกับส่วนท้ายของข้อมูล เรื่องขอใช้งานโปรแกรม เวลาใช้งานวิธี POST อาจจะไม่ง่ายและเร็วเท่ากับการใช้วิธี GET แต่สามารถทำงานกับข้อมูลที่ สลับซับซ้อนได้ดีกว่า คุณสามารถส่งแฟ้มข้อมทูลไปกับวิธีการ POST ได้ด้วยเช่นกัน ขนาดของข้อมูลที่จะส่งจะไม่ถูกจำกัด เหมือนวิธีการ GET
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เขียนโปรแกรม CGI แล้ว ทั้งวิธีการ GET และ POST ต่างก็ไม่ยากที่จะใช้งานด้วยกันทั้งคู่ ข้อดีของ วิธีการ POST คือ วิธีการ POST ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไม่จำกัดขนาด และสามารถนับจากโปรแกรม CGI ได้จริง ๆ ว่ามีการ เรียกใช้โปรแกรมกี่ครั้ง ส่วนข้อดีสำหรับการใช้วิธี GET ข้อมูลจากการกรอก form ทั้งหมดจะถูกส่งไปเป็น URL เดียว สามารถ จะใช้ผ่าน hyperlink หรือ bookmark ได้โดยไม่ต้องกรอกฟอร์มทุกครั้ง

Chat
Chat นั้นเป็นการสนทนาด้วยข้อความหรือแลกเปลี่ยนไฟล์กันแบบสด ๆ ผ่านทางอินเตอรืเน็ต (มักจะเรียกว่าแบบ Realtime หรือเรียกอีกชื่อว่า InterActive)ที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทำให้ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากโดยมีโปรแกรม สำหรับการ Chat หลายตัว เช่น ICQ IRC mIRC Perch Odigo และอื่น ๆ

FTP
FTP (File Transfer Protocol , File Transfer Program) เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการโอนไฟล์ขึ้นไปไว้ที่ เว็บเซิร์ฟเวอรที่เรียกว่าการ upload และให้บริการโอนย้ายไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เว็บไซต์อื่น ๆ ที่เรียกว่าการ Download โปรแกรมที่จะช่วยให้การ Upload download มีหลายตัวเช่น WS_FTP Flashget Download-Acc Cute-ftp เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้งานโปรแกรม Telnet ในระบบปฏิบัติการ UNIX อีกด้วย

FAQ
FAQ (Frequently Asked Questions) ซึ่งก็คือการที่เว็บไซต์นั้น ๆ ได้ทำการรวบรวมคำแนะนำดี ๆ ที่ได้รับจากผู้ที่เข้าชม เว็บไซต์หรือคำถามต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ถูกถามถึงบ่อย ๆ เอาไว้เพื่อให้ผู้ชมสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการ และรายละเอียด ต่าง ๆ ของ Web ที่ผู้ใช้อยากรู้

Homepage
สำหรับเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตต่างตกแต่งเว็บเพจของตนให้ดึงดูดความสนใจจากผู้ที่ใฝ่รู้ทั้งหลาย เป็นที่ ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมชม เพื่อที่จะได้กลับมาเยี่ยมชมอีกหรือด้วยจุดประสงค์ที่ผู้ตั้งเว็บไซต์ต้องการ โดยเว็บเพจหน้าแรก ที่พบเมื่อเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นจะถูกเรียกว่า โฮมเพจ (Homepage) ซึ่งก็คือเอกสาร HTML ธรรมดาที่สามารถจะเข้าถึง ข้อมูลในเว็บไซต์ได้ มีจำนวนมากมักนิยมเรียกรวบเว็บไซต์สั้น ๆ ว่าโฮมเพจ ดังนั้น Homepage นั้นก็เสมือนเป็นประตู ที่จะเข้าไปสู่เว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้น จริง ๆ แล้วโฮมเพจ เป็นเพียงโฟล์เดอร์หนึ่งในเว็บไซต์ โดยทั่วไปในเมืองไทยมัก เรียกโฮมเพจแทนเว็บไซต์ เนื่องมาจากความคุ้นเคยมากกว่า

HTML
HTML (Hyper Text Marup Language) เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML นั้นก็คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์ พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE , Netscape , Opera ฯลฯ ซึ่งภาษา HTML นั้นมีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard General Marup Language) ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษา HTML อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็น HTML4 ภาษา HTML นั้นก็มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใด ๆ เลย ก็สามารถเขียน ได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในไฟล์ เดียวกันได้ และสามารถเชื่อมโยงกับเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายดาย

HTTP
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) เป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารกัน (Protocol) ระหว่างบราวเซอร์และ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง HTTP โปรโตคอลนั้นก็จะทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP/IP อีกทีหนึ่งโดยที่เราเปิดโฮมเพจขึ้นมา บราวเซอร์จะ ติดต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางโปรโตคอล HTTP และจะส่งที่อยู่ไฟล์ข้อมูลหรือที่เรียกว่า URL ที่ต้องการไป และอาจมี ีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ชื่อและรุ่นของบราวเซอร์ที่ใช้เปิดดูไฟล์ข้อมูลได้ จากนั้นเว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลกับมาตามข้อกำหนดของ HTTP เช่น ขนาดของข้อมูล , วัน เวลาที่สร้าง และเมื่อบราวเซอร์ได้รับข้อมูลครบแล้ว การติดต่อจะสิ้นสุดทันที และหากหน้า เว็บเพจใดมีข้อมูลที่มีหลายไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพและเสียง ก็จะต้องมีการติดต่อไปหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจะไม่เกี่ยวข้องกัน

Internet
อินเตอร์เน็ต (Internet) เราเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อสารกับเครื่องที่อยู่ระยะไกล ๆ ได้ทั่วโลก การสื่อสารที่ สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลอย่างกว้างขวางได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ อาจจะเรียกกันอีกชื่อว่า ระบบใยแมงมุม (WORLD WIDE WEB หรือ WWW) ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง ในตอนแรกนั้นอินเตอร์เน็ตเริ่มมาจาก เครือข่าย อาร์พาเน็ต (ARPANET : Advanced Research Project Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางทหารของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา กับมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัย และต่อมาได้ขยายไปยัง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น ทางการทหารของสหรัฐจึงขอแยกตัวออกไปกลายเป็น เครือข่าว Millet Military Network แต่ก็ยังคงเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต ด้วยเทคนิคการโต้ตอบด้วย IP (Internet Protocol) ที่เรียกว่า TCP/IP และต่อมาก็ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูกกับสหรัฐอเมริกา จนมีการเชื่อมต่อ กันด้วยระบบ "Internet Protocol" จนกลายเป็นอินเตอร์เน็ตอยู่ในปัจจุบันนี้ และเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วนี่เอง

Intranet
ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ก็คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในพื้นที่ หรือองค์กรเดียวกัน ซึ่งเราเรียกกันว่า ระบบ LAN (Local Area Network) ซึ่งจะใช้กันภายในองค์กรต่าง ๆ เช่น อาจจะมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกัน หรือบริการ รับฝากข้อความ (E-mail) หรือฐานข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งไม่ได้ติดต่อกับภายนอกและต่อระบบ Lan ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ เครือข่ายวงกว้าง หรือระบบ Wan (Wide Area Network) ที่ใช้ในต่างพื้นที่กัน แต่ว่ามีข้อจำกัดเรื่องของสายสัญญาณภายใน ที่ใช้ต่อในแต่ละจุด ยิ่งจุดที่เชื่อมต่อไกลมาก ก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงและในปัจจุบันนนี้ระบบอินทราเน็ตนั้นก็ได้มีการเชื่อมต่อเข้า กับ ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีเครื่องอยู่ในระยะไกล ๆ กัน

ISP
ISP (Internet Service Provider) เป็นบริษัทที่ให้การเชื่อมต่อแก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าชั่วโมงการใช้งานเป็นรายเดือน หรืออาจเป็นแบบ Package ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน ก็ได้ เช่น KSC , CS-internet , Ji-net , Internet-Thailand เป็นต้น

Java Script
Java Script นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากภาษา ไลฟ์สคริปตื (LiveScript) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเน็ตสเคป และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป้น ภาษา Java Script อย่างในปัจจุบันนี้ ซึ่ง Java Scipt นั้นได้ใช้งานครั้งแรกใน Netscape Navigator รุ่น 2.0 และพัฒนามาเป็น Java Script 1.3 ใน Netscape Navigator รุ่น 4.0 สำหรับภาษาสคริปต์นั้นมีจุดเด่น กว่าภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ตรงที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการแปลงภาษา (Compile) และรูปแบบของภาษาก็ง่ายต่อการเขียน เช่น ไม่เข้มงวดเรื่องแปร , ไม่ต้องประกาศชนิดของตัวแปร , ไม่ต้องระบุขนาดของอาร์เรย์ ไม่ต้องประกาศฟังก์ชัน และง่ายต่อการ เปลี่ยนแปลงแก้ไข และเพิ่มเติมโปรแกรมในภายหลัง

MIME
MIME (Multipurpose Internet Mail Extensions) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล มาตรฐาน MIME ถูกสร้าง ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการส่งไฟล์แนบไปกับอีเมล์ แต่ภายหลังได้ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ งาน รวมทั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย โดยการ แบ่งชนิดของข้อมูลใน MIME นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ โดยใช้เครื่องหมาย / คั่น เช่น text/plain หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Text) และเป็นข้อความธรรมดา ส่วน text/html หมายถึง ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป้นข้อมูล HTML หรือ image/jpg หมายถึงข้อมูลรูปภาพ และเป็นรูปภาพแบบ JPG เป็นต้น การทำงานหลาย ๆ อย่างของเว็บไซต์นั้นขึ้นอยู่กับ MIME เช่น การที่บราวเซอร์ได้รับข้อมูลที่เป็น Plug-in ประเภท application/x-shockwave-flash ก็จะทำการเรียก Plug-in Shockwave Flash ขึ้นมาแทน
Perl
Perl (Practical Extraction And Report Language) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Larry Wall เพื่อเป็นเครื่องมือ สำหรับการเขียนโปรแกรมในสภาวะแวดล้อมของระบบ Unix โดยเฉพาะ โดยภาษานี้ เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นเหมือนกับ ภาษาชั้นสูงต่าง ๆ โดยลักษณะของภาษา Perl นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ดังนั้นการรันสคริปต์จะต้องเรียก ตัวแปลงภาษาแบบ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ของ Perl มาอ่านสคริปต์และแปรคำสั่ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการคอมไพล์สคริปตืก่อน จึงสะดวก และง่ายแก่การเขียน นอกจากนี้ภาษา Perl มักจะถูกติดตั้งมาพร้อม ๆ กับเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ในระบบ UNIX อยู่แล้ว จึงมีผู้นิยม นำเอาโปรแกรมภาษา Perl มาเขียนเป็น CGI จำนวนมากจนในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนา Perl บน Dos และ WINDOWS ได้แล้ว

Plug-in
Plug-in เป็นโปรแกรมเสริมที่นำมาติดตั้งเพิ่มเติมให้กับ Application ต่าง ๆ รวมทั้งต่อกับบราวเซอร์ด้วยโดยได้นำมาใช้กับ Netscape Navigator 2.0 เป็นครั้งแรก ซึ่ง Plug-in ต่าง ๆ นั้นจะเชื่อมบราวเซอร์กำหนดใน HTML ผ่านทาง API ที่กำหนดไว้ และจะแสดงผลในบราวเซอร์ เช่น Plug-in Shockwave Flash , Quicktime Movie , VRML-3D web เป็นต้น

Protocol
Protocol คือภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอรื โดยเราจะต้องใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันเพื่อที่จะสื่อสารกันระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีโปรโตคอลต่าง ๆ ที่ใช้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยโปรโตคอลที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปได้แก่ TCP/IP , HTTP , FTP , PPP , SLIP ฯลฯ นอกจากนี้ โปรโตคอลยังรวมถึงข้อกำหนดและรูปแบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ในระบบอีกด้วย

Script
สคริปต์ (Script) นั้นก็หมายถึงโปรแกรมสั้น ๆ สำหรับจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว โดยสคริปต์นั้นจะแทรกอยู่ในไฟล์ HTML หรืออาจจะแยกออกมาต่างหากก็ได้ ซึ่งสคริปต์นั้นมีทั้งแบบที่ทำงานที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ เช่น ASP PHP Perl หรือสคริปต์ ที่ทำงานที่บราวเซอร์ เช่น JavaScript , VBScript โดยสคริปต์ที่ทำงานในฝั่งเว็บเซิร์ฟเวอร์ จะเป็นการทำงานตามโปรแกรม ในสคริปต์จนเสร็จแล้วจึงส่งผลลัพท์มายัง บราวเซอร์อีกที ซึ่งส่วนใหญ่ไฟล์พวกนี้จะไม่เป็น *.htm *.html แต่ อาจจะเป็น *.asp *.shtml ส่วนสคริปต์ที่ทำงานฝั่งบราวเซอร์ก็เพื่อลดการทำงานและติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ในการตกแต่ง โฮมเพจ จัดการฟอร์มรูปภาพเคลื่อนไหว

Search Engine
เป็นบริการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ต้องมี search engine ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์อยู่บนเครือข่ายนี้หลายร้อยล้านหน้าเลยทีเดียว หากเราจะหาเว็บไซต์สักแห่งหนึ่ง คงไม่ใช่ เรื่องง่ายนัก แต่หากเราใช้บริการของ Search Engine เพียงแค่ใส่ชื่อเรื่องที่เราต้องการ หรือคำสำคัญก็สามารถหา เว็บไซต์ นั้นเจอได้ง่ายดาย เช่น ถ้าเราจะค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับกีฬาเราก็เพียงใส่คำว่า Sport ลงไป เป็นต้น

Server
เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานข้อมูลที่ให้บริการต่าง ๆ กับเครื่องลูกข่าย (Client) โดยเครื่องที่ จะเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปเพื่อที่จะรองรับการทำงานของเครื่องลูกข่ายหลาย ๆ ตัวได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเครือข่ายและจำนวนเครื่องลูกข่ายที่ให้บริการ และยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมด้วย เพื่อป้องกันพวกมือบอน แฮกเกอร์ เข้ามารบกวนระบบ

Style Sheet
Style Sheet เป็นคำใช้เรียกรวม ๆ ของ Style Sheet หลาย ๆ มาตรฐานด้วยกัน แต่ที่ W3C.COM แนะนำก็คือ CSS (Cascading Style Sheets) หรือ JSSS (JavaScript Style Sheet) จาก Netscape ซึ่งในอนาคตนั้น W3C.COM กำลังจะให้ XSL (Style Sheet Language) เป็น Style Sheet มาตรฐานของข้อมูล XML โดยลักษณะ Style Sheet ก็คือการกำหนดรูปแบบ การแสดงผลของข้อมูลโดยตรง เช่น กำหนดสีตัวอักษร Hyperlink ตั้งเอกสาร เราก็สามารถกระทำได้ ซึ่งจะทำให้เราสะดวก เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงภายหลัง โดยที่ Style Sheet นั้น จะแทรกอยู่ระหว่าง แท็ก <HEAD>...</HEAD> ตัวอย่าง Style sheet <STYLE type="text/css"> A:link {color:"#003399";} A:visited {color:"#0088FF";} A:hover {color:"red";} </STYLE> ในตัวอย่างก็จะเป็นการกำหนดสีของ Hyperlink สีของ Hover (สีเวลาที่เราคลิก Hyperlink) และสีของ Hyperlink ที่เรียกดูแล้ว

TCP/IP
อินเตอร์เน็ตนั้นได้มีการเชื่อมต่อกันโดยโปรโตคอลของ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งใช้รับส่งข้อมูลผ่านทางอินเตอรืเน็ต โดยจะทำาการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่าแพ็คเกจ (Package) จากนั้น ข้อมูลแต่ละแพ็คเกจก็จะถูกส่งไปยังปลายทาง โดยไม่จำเป็นต้องไปในเส้นทางเดียวกันทั้งหมดที่ปลายทาง แพ็คเกจที่มาถึง ทั้งหมดก็จะถูกนำกลับมาประกอบเข้ากันใหม่อีกครั้ง ซึ่งหากมีการสูญหายของแพ็คเกจระหว่างส่งโปรโตคอล TCP/IP จะสั่ง ให้มีการส่งแพ็คเกจนั้นซ้ำใหม่

Telnet
Telnet เป็นการขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งการใช้ Telnet เราสามารถใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ปลายทางที่ขอใช้ได้เหมือนกับเครื่องที่บ้านเราเอง ซึ่งเราจำเป็นจะต้องมีชื่อบัญชีผู้ใช้ในเครื่องที่ขอใช้ และการ ทำงานส่วนใหญ่จะใช้คำสั่งในระบบปฏิบัติการ Unix

URL
URL (Uniform Resource Location) คือที่อยู่หน้าเว็บเพจ สามารถดูได้จากแถบที่อยู่ทุกครั้งที่เปิดหน้าเว็บ ปกติแล้ว URL จะเป็นกลุ่มของตัวอักษร เช่น http://www.geocities.com/siamsix แต่เราสามารถใส่ตัวเลขลงไปได้ เช่น 202.150.8.92 และใน URL นั้นจะใช้"/" จะไม่ใช่"" เหมือนการอ้างอิงพาร์ในเครื่องเช่น C:WINDOWS ทำให้อาจจะพิมพ์ผิดได้ และ URL นั้นจะแยก ตัวอักษรใหญ่ และเล็กของชื่อไฟล์ เช่น INDEX.html กับ index.html นั้นเป็นคนละไฟล์กัน

VRML
VRML (Virtual Reality Modeling Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการสร้างโลก 3 มิติ โดยที่ VRML นั้นก็เป็นไฟล ์เอกสารธรรมดา เช่นเดียวกับไฟล์ HTML แต่จะเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับสร้างออบเจ็กต์ต่าง ๆ ในโลก 3 มิติ การใช้งาน VRML นั้นสามารถใช้ได้หลากหลาย เช่น แสดงโมเลกุลของสารเคมีต่าง ๆ หรือตัวอย่างสิ่งของที่สามารถหมุนดูได้ 360 องศา แต่ว่า VRML นั้นไม่มีการกำหนดการรับข้อมูลเป็น 3 มิติไว้ในมาตรฐาน ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงผลได้ทั้งอุปกรณ์ 2 มิติ หรือใช้อุปกรณืโลกเสมือนก็ได้ ซึ่ง VRML นั้นอาจจะเทียบได้กับไฟล์ข้อมูลของ 3D Studio นั่นเอง ซึ่งต่างกับการใช้หมวกหรือ แว่น 3 มิติ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงบนบราวเซอร์ได้โดยใช้ Plug-in นอกจากนั้น VRML นั้นสามารถทำสคริปต์ด้วย Java Script ให้เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ได้

XML
XML (EXtensible Markub Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่าง ๆ แต่มีข้อแตกต่างกับ HTML ที่เป็น Markup Language โดยที่ XML นั้นได้ถูกพัฒนามาจาก SGML (Standard Generalized Markup Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการกำหนดการแสดง ผลเอกสาร สำหรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง HTML นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ SGML และคำสั่งหรือแท็กที่ใช้ในเอกสาร จะถูกกำหนดมาตรฐาน DTD (Document Type Definition) ซึ่งเป็นภาษาที่สำหรับกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของแท็กได้ เช่น พารามิเตอร์ของแท็ก เป็นต้น การใช้งาน XML นั้น จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ Style Sheet หรือมาตรฐานอื่น ๆ เพราะ XML เพียงแต่กำหนดรูปแบบของแท็ก แต่ไม่ได้กำหนดว่าแท็กใจะแสดงผลแบบใด เพราะเมื่อเอาข้อมูลในรูปแบบ XML ไปแสดงผล ในอุปกรณ์ชนิดใด ก็จะต้องใช้วิธีแสดงผลของอุปกรณ์นั้น เช่น ใช้มาตรฐาน SMIL สำหรับข้อมูลมัลติมีเดียว หรือใช้ Style Sheet XSL สำหรับการแสดงผลในบราวเซอร์ นอกจากนี้ XML ยังสนับสนุนตัวอักษรภาษานานาชาติ โดยใช้มาตรฐาน ISO 10646 โดยจุดมุ่งหมายของภาษา XML นั้นก็คือภาษาเรียบง่าย มีคำสั่งน้อยที่สุด และสามารถเขียนได้ด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ (Text Editor) ได้ และสนับสนุนแอพพลิเคชันหลาย ๆ ชนิด และในปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการพัฒนาภาษา Markup ตามข้อกำหนดของ XML แล้ว เช่น SMIL สำหรับควบคุมข้อมูลมัลติมีเดีย

WAP
WAP (Wireless Application Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร และถ่ายโอนข้อมูลในระบบของอุปกรณ์ สื่อสารไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA หรือเครื่อง Palm เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้บริการต่าง ๆ ผ่าน อินเตอร์เน็ตได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

Website
เว็บไซต์ นั้นเป็นคำที่ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู่ที่มีเว็บเป็นของตัวเองบนอินเตอร์เน็ต หรือก็คือ เว็บเพจทั้งหมด ที่มีอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูลในอินเตอร์เน็ตของเรานั่นเอง ซึ่งจะได้จากการที่เราลงทะเบียนกับผู้ให้เช่าบริการพื้นที่ใน อินเตอร์เน็ตหรือพื้นที่ฟรีต่าง ๆ จากนั้นก็ทำการ Upload ไฟล์ของโฮมเพจของเรา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานรัฐบาล ภาครัฐ และบริษัทต่าง ๆ ก็มักจะมีเว็บไซต์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้ไม่เพียงจะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ที่เป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถที่จะมีที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้อย่างสบาย ๆ ซึ่งประโยชน์ของเว็บไซต์ก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ บริการรับส่ง E-mail บริการรับส่งข้อมูลผ่านทางโปรโตคอล FTP และอื่น ๆ
ที่มา : http://blog.eduzones.com/offy/4183






วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

windows 7 ขึ้น no internet access








กรณี windows7 ขึ้น no access



แก้ไขโดย


1. เข้าไปที่ wireless network connection status


2. จากนั้น เลือก properties จะขึ้นหน้าต่าง wireless network connection properties


3. เลือก internet protocol version 4 (TCP/IPv4) เลือก properties


4. เลือก Obtain DNS sever address automatically (จากเดิมอยู่ที่ Use the follow...


จากนั้นกด OK